2. วัดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ครูต้องมุ่งวัดผลการเรียนรู้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 เพราะถ้าวัดไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะทำให้ผลการวัดไม่มีความหมาย หากนำผลการวัดไปใช้จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้
3. เลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ครูจะต้องเลือกเครื่องมือวัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น วัตถุประสงค์ต้องการวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย จะต้องวัดโดยการให้นักเรียนปฏิบัติแล้วครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน หากวัตถุประสงค์ต้องการวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จะต้องวัดโดยใช้แบบทดสอบ
4. ใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวัดผลต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้มากที่สุด ดังนั้น ก่อนดำเนินการวัดผลครูควรตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเสียก่อน หากพบว่าไม่มีคุณภาพจะต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพเสียก่อน เช่น ก่อนใช้แบบทดสอบครูต้องตรวจสอบว่า ถามตรงเนื้อหาหรือไม่ คำถามชัดเจนหรือไม่ ยากง่ายเกินไปหรือไม่ ให้ผลการวัดคงที่หรือไม่ เป็นต้น
5. ทำการวัดอย่างระมัดระวัง ในระหว่างดำเนินการวัดผลจะต้องดำเนินการวัดอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น จัดสภาพห้องสอบให้เหมาะสม ชี้แจงวิธีการสอบให้ชัดเจน ไม่ปล่อยให้ผู้สอบลอกกัน โดยให้ผู้สอบทุกคนได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ลำเอียง
6. แปลผลการวัดอย่างถูกต้อง เมื่อได้ผลการวัดมาแล้ว จะต้องนำไปแปลผลโดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความสมเหตุสมผล และความยุติธรรม ผลการวัดที่ได้ จะออกมาเป็นคะแนนดิบ ซึ่งแปลความหมายโดยตรงไม่ได้ ต้องนำไปเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียก่อน เช่น นำไปเทียบกับคะแนนของคนอื่นในกลุ่ม หรือนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
7. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า ผลการวัดที่ได้จากการดำเนินการวัดที่ถูกต้อง เป็นผลการวัดที่มีคุณค่า ครูควรนำผลการวัดที่ได้มาใช้ให้คุ้มค่า นั่นคือ เมื่อครูนำผลการวัดมาใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แล้ว ไม่ควรทิ้งหรือเก็บผลการวัดนั้นไว้เฉย ๆ เพราะ ยังมีประโยชน์ต่อด้านอื่น ๆ อีก เช่น หลังจากที่ครูนำผลการวัดมาใช้เพื่อตัดสินผลการเรียนของนักเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ตัดสินผลการสอนของครูเอง หรือนำมาใช้ตัดสินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมสำหรับบทความนี้