- แบบทดสอบแบบถูก-ผิด (True-false test) เป็นแบบทดสอบที่กำหนดข้อความให้นักเรียนพิจารณาว่า ถูก หรือ ผิด จริง หรือ เท็จ ใช่ หรือ ไม่ใช่ อาจให้เขียนเครื่องหมาย / หรือ X หรืออาจให้ตอบ โดยใช้อักษรย่อ ถ - ผ หรือ T - F ก็ได้ มีข้อดี คือ สร้างง่ายและรวดเร็ว เขียนคำถามได้คลอบคลุมเนื้อหา ใช้วัดความจำได้ดี ตรวจง่ายและรวดเร็ว มีความเป็นปรนัยในการตรวจ แต่มีข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมพุทธิพิสัยขั้นนสูงไม่ได้ เดาถูกได้มากกว่าข้อสอบแบบอื่นๆ ไม่สามารถใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนได้
- แบบทดสอบแบบจับคู่ (Matching test) เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วย 2 คอลัมน์ ในแต่ละคอลัมน์จะประกอบด้วย คำ ข้อความ ประโยค หรือวลีที่มีความสัมพันธ์กัน วิธีการตอบจะให้ผู้สอบจับคู่ระหว่าง 2 คอลัมน์ให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง มีข้อดี คือ ใช้วัดความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงระหว่างสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันได้ดี สร้างง่าย ตรวจง่ายและรวดเร็ว เดาคำตอบได้น้อยกว่าข้อสอบแบบถูกผิด การให้คะแนนเป็นปรนัย ส่วนข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมสูงกว่าความจำได้ยาก นักเรียนอาจเดาข้อหลังได้เนื่องจากเหลือตัวเลือกให้เลือกน้อยลง ถ้าคำชี้แจงไม่ชัดเจนอาจทำให้นักเรียนไม่เข้าใจวิธีการตอบ
- แบบทดสอบแบบ เติมคำ (Completion test) เป็นแบบทดสอบที่มีลักษณะเป็นโจทย์ข้อความที่ถามให้นักเรียนเขียนคำตอบตอบโดยใช้คำ หรือประโยคสั้น ๆ เติมลงในช่องว่าง มีข้อดี คือ สร้างง่ายและรวดเร็ว เขียนคำถามให้คลอบคลุมเนื้อหาได้ ใช้วัดความจำได้ดี เดาคำตอบได้ถูกยากกว่าข้อสอบปรนัยอื่นๆ แต่มีข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมสูงกว่าความจำไม่ได้ ตรวจยาก
- แบบสอบแบบปรนัยเลือกตอบ (Multiple Choices test) เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนคำถามและ ส่วนของตัวเลือก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลือกถูก กับตัวลวง ปกติจะมีประมาณ 3 – 5 ตัวเลือก มีข้อดี คือ วัดพฤติกรรมพุทธิพิสัยได้ครบทั้ง 6 ขั้น ตรวจง่าย เขียนข้อสอบได้คลุมเนื้อหา แต่มีข้อเสีย คือ สร้างยากโดยเฉพาะคำถามที่วัดพฤติกรรมขั้นสูง ใช้เวลาในการเขียนข้อสอบนาน วัดการแสดงวิธีทำ ทักษะการเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ การอภิปรายแสดงความคิดเห็นไม่ได้
- แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนเขียนบรรยายคำตอบลงในกระดาษคำตอบ มีข้อดี คือ เดาไม่ได้ วัดการแสดงวิธีทำ ทักษะการเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ การอภิปรายแสดงความคิดเห็น การแสดงเหตุผล การวิพากษ์วิจารณ์ ได้ดี แต่ข้อเสีย คือ ตรวจยากมาก ใช้เวลาในการตรวจนาน ไม่สามารถออกข้อสอบหลายข้อได้
แบบทดสอบในข้อ 1 - 4 คือแบบถูกผิด จับคู่ เติมคำ เลือกตอบ มีลักษณะคำถามที่มุ่งให้นักเรียนเขียนตอบสั้น ๆ หรือตอบโดยใช้สัญลักษณ์ เช่น กากบาท โยงเส้น หรือวงกลม เรียกว่าแบบทดสอบปรนัย (objective test) ส่วนแบบทดสอบในข้อ 5 เป็นแบบทดสอบที่มุงให้นักเรียนเขียนตอบหลาย ๆ บรรทัด บางครั้งเรียกว่าแบบทดสอบอัตนัย (subjective test)
13. แบบทดสอบมีกี่ประเภท ?
ป้ายกำกับ:
13. แบบทดสอบมีกี่ประเภท ?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การทำแบบทดสอบสามารถทำได้หลายแบบแล้วแต่ผู้สอนจะเลือกแบบใหนที่เหมาะสมตามสภาพของเด็กแต่ทางที่ดีควรจะเลือกหลายแบบในข้อสอบชุดเดียวกันเพราะความสามารถของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน(2034)
ตอบลบดีใจมากค่ะที่ 2034 เข้ามาแสดงความคิดเห็น ถูกแล้วค่ะการเลือกแบบทดสอบควรเลือกให้เหมาะสม แต่นอกจากจะเหมาะสมกับเด็กแล้วสิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่จะวัด แบบทดสอบบางชนิดวัดความจำได้ดี แต่วัดสูงกว่าความจำไม่ได้ บางชนิดวัดความคิดวิพากษ์วิจารณ์ หรือการแสดงเหตุผล หรือการแสดงวิธีทำไม่ได้ ดังนั้นอย่าลืมดูจุดประสงค์การเรียนรู้ว่าต้องการวัดอะไร แล้วเลือกชนิดของแบบทดสอบที่วัดสิ่งนั้นได้ดีที่สุด (เพชร)
ตอบลบ525310254
ตอบลบตื่นเต้นกับการสอบวันเสาร์ที่ 22 นี้ ที่ผ่านมาอาจารย์สอนชัดเจนเข้าใจดี
แต่เดาไม่ถูกว่าข้อสอบจะออกมาแบบไหน ขอเอาบทความของอาจารย์เป็นบทสรุปไว้ทบทวนนะคะ
เนื้อหาย่อในบล็อกเข้าใจง่ายนะคะ รู้อย่างนี้อ่านในบล๊อกก่อนก็ดีค่ะ
ตอบลบห้องนู๋สอบของอาจารย์ไปแล้วค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ
สอนดีและเข้าใจง่ายมากๆค่ะ
แล้วอาจารย์ตรวจข้อสอบห้องนู๋เสร็จหรือยังคะ
pim หมู่ 6
วันนี้วันอังคารที่ 29ก.ย.52อาจารย์จัดสัมมนา ตอนแรกตั้งใจที่จะไปฟังเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมน่าเสียดายมาก ๆ เลยคะที่ไม่สามารถไปฟังได้ เพราะอยู่ต่างจังหวัดคะ ก็เลยเข้ามาอ่านเนื้อหาในBlogของอาจารย์เพื่อจะได้ความรู้เพิ่มเติม ไม่ผิดหวังจริง ๆ คะ อ่านแล้วได้ความรู้ เข้าใจมากขึ้น เพราะอาจารย์สรุปออกมาให้เห็นได้ชัดเจน
ตอบลบ(นางษมนวรรณ เหลื่อมสีจันทร์ 5253102118)
วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคมนี้ จะสอบแล้วฝากเพื่อน ๆ ตั้งใจอ่านหนังสือทบทวนด้วยนะจ๊ะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ